วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557


           ชินลงหรือ ชินโลนเป็นศิลปะแบบดั่งเดิมหรือกีฬาโบราณ ที่มีมานานกว่า 1,500 ปี ของประเทศพม่า เป็นการผสมผสานกันระหว่างกีฬากับการเต้นรำ เล่นกันเป็นทีม ไม่มีคู่ต่อสู้ แต่ละท่าในการเล่นต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนักเพราะเป็นลีลาที่ยากมาก แฝงด้วยทักษะ ความสมดุล มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าเล่นเป็นทีมจะมีผู้เล่น 6 คน โดยมีหนึ่งคนอยู่ตรง กลางคอยคอลโทรลเกม หากลูกตกพื้นจะเป็นลูกตาย ต้องเริ่มต้นเล่นกันใหม่ นิยมเล่นกันทั้งเพศชาย แหละ หญิง ในปัจจุบันมีการนำออกแสดงโชว์เป็นอาชีพหนึ่งอย่างแพร่หลาย ชินลง ก็เป็นตะกร้อวง แบบเดียวกับตะกร้อวงของไทย แต่มีตัวเอกเด่นเข้าเล่นโชว์ลีลากลางวง ตำแหน่งนี้เรียวกันว่า "มินดา" ซึ่งแปลว่า "เจ้าชาย"
          ไปเป็นเจ้าชาย...ในแคว้นศัตรู เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด รางวัลยอดเยี่ยม ประเภท "สารคดี" ประจำปี 2553 เขียนโดยคามิน คมนีย์ ถีอได้ว่าเป็นผู้นำความรู้เรื่องกีฬาประจำชาติพม่ามาเปิดเผยให้แก่สังคมได้อย่างลึกซึ้งที่สุด

          เพียงเพราะอยากพิสูจน์ว่า เกร็ก แฮมิลตัน ยกย่อง "ชินลงหรือตะกร้อพม่า" เหนือ "ตะกร้อไทย" จริง หรือไม่จริง ผู้เขียนถึงกับต้องเดินทางไปยังเมืองมัณฑะเลย์ เพือชมการเล่นตะกร้อพม่า หรือ ชินลง ในเทศกาลวาโซชินลงกันเลยทีเดียว ก็ใครจะยอมให้ชนชาติที่ถือว่าเป็นศัตรูคู่แค้นกันมาหลายยุคหลายสมัย อยู่ "เหนือกว่า" ได้ ไม่ว่าเรื่องเล็กๆ อย่างกีฬาประจำชาติเช่นนี้ แต่สิ่งที่ผู้เขียนพบเห็น ไม่เพียงแต่วัฒนธรรม วิถีชีวิต และธรรมชาติของบ้านเมือง เขายังได้สัมผัสถึง "น้ำใจ" ของผู้คนชาวพม่า ที่ออกจะภาคภูมิใจในกีฬาประจำชาติของตน
และเต็มอกเต็มใจ สอนและฝึกหัด ให้แก่นักตะกร้อจากเมืองไทยคนนี้ ถึงขนาดพยายามปั้นให้คนไทยคนนึงที่เ่ล่นตะกร้อเป็นกลายเป็น "มินดา" เจ้าชายกลางวงชิงลงให้ได้
          ชินลง ก็เป็นตะกร้อวง แบบเดียวกับตะกร้อวงของไทย แต่มีตัวเอกเด่นเข้าเล่นโชว์ลีลากลางวง ตำแหน่งนี้เรียวกันว่า "มินดา" ซึ่งแปลว่า "เจ้าชาย" และลีลาลูกศอก ลูกส้น ลูกเข่า บ่วงมือ ของนักตะกร้อไทยก็สร้างความแปลกตาและฮือฮาแก่ชาวพม่าเช่นกัน บรรดาชาวพม่าที่ได้เห็นลีลาของเขาแล้ว ก็ให้กำลังใจกันว่า ฝีมืออย่างนี้เป็นมินดาได้ แต่ว่า ต้องฝึกหัดท่าแม่ไม้ต่างๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง และสวยงามด้วย แล้วเขาก็ได้ร่วมแสดงฝีมือในเทศกาลสำคัญครั้งนั้นด้วย หลังจากกลับจากพม่าในปีแรก คามินก็เริ่มฝึกหัดเล่นท่าแบบพม่า ตามภาพหรือวีดีโอที่ได้เห็น
รวมทั้งติดต่อกับเกร็กผู้ทำให้เขาได้รู้จักชินลงผ่านอีเมล์โต้ตอบกันไปมา เขากลับไปพม่าในปีที่ 2 ปีที่ 3 และปีที่ 4 เพื่อเรียนรู้ ฝึกหัด และเป็น "มินดา" จนได้ เขาเดินทางไปถึงประเทศเมียร์มาร์ ได้เห็น ได้เรียนรู้ ได้ฝึกหัด และหลงรัก "ชินลง" กระทั่งหมายมั่นปั่นมือว่าจะเป็น "มินดา หรือ เจ้าชาย" เล่นกลางวงชินลงในเทศกาลประจำปีให้ได้ และนี่คือที่มาของชื่อหนังสือเล่มนี้ "ไปเป็นเจ้าชาย" ก็คือ เป็นผู้เล่นตำแหน่ง "มินดา" ตัวเอกในวงชินลง "ในแค้วนศัตรู" ก็คือ ในประเทศเมียนมาร์ ที่มีประวัติศาสตร์ด้านการรบกับไทยมายาวนานนั่นเอง

ชินลง
ศิลปะกีฬาโบราณ สู่ซีเกมส์ 2013 
มิง--กะ--ลา--บา

ฉบับนี้ของสวัสดีเป็นภาษาเมียนมาร์สักหน่อยเพื่อให้เข้ากับยุคที่กำลังก้าวสู่สังคมประชาคมอาเซียน (AEC) และเข้ากับมหกรรมกีฬาแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ซีเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่เพิ่งจบไปหมาดๆ ณ กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงแห่งใหม่ของประเทศพม่า 
ซีเกมส์ครั้งนี้ถือเป็นการกลับมาเป็นเจ้าภาพครั้งแรกของพม่าในรอบ 44 ปี ต่อจากปี 2512 ซึ่งเป็นครั้งที่ 3 ของประวัติศาสตร์ชาติพม่า พร้อมกันนี้ยังถือเป็นการเปิดประเทศครั้งแรก และมีการบรรจุกีฬาพื้นบ้านเข้าไปชิงเหรียญรางวัลมากเป็นพิเศษ ที่ไม่คุ้นหูอย่างยิ่งก็คือ ชินลง ที่ประเดิมแข่งขันเป็นรายการแรก ซึ่งเจ้าภาพก็กวาดเหรียญทองไปตามคาด ชนิดไร้คู่แข่งเลยทีเดียว

 สุขกายสบายใจ,Sukguy,นิตยสาร,Magazine,สุขภาพ,Health,Burn now,ชินลง

รู้จักกีฬา ชินลง 
"ชินลง" หรือ "ชินโลน" เป็นศิลปะกีฬาแบบดั่งเดิมที่มีมานานกว่า 1,500 ปี ปัจจุบันเป็นกีฬาประจำชาติของประเทศพม่า มีการผสมผสานกันระหว่างกีฬากับการเต้นรำ เล่นกันเป็นทีม ไม่มีคู่ต่อสู้ แต่ละท่าในการเล่นต้องผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนัก เพราะเป็นลีลาที่ยากมาก แฝงด้วยทักษะ ความสมดุล มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าเล่นเป็นทีมจะมีผู้เล่น 6 คน โดยมีหนึ่งคนอยู่ตรงกลาง คอยคอนโทรลเกม หากลูกตกพื้นจะเป็นลูกตาย ต้องเริ่มต้นเล่นกันใหม่ นิยมเล่นกันทั้งเพศชายและหญิง ในปัจจุบันมีการนำออกแสดงโชว์เป็นอาชีพหนึ่งอย่างแพร่หลาย
กติกา และวิธีการเล่น 
ชินลงเป็นหนึ่งในตระกูลเกมบอลทั่วโลกที่เล่นด้วยเท้า ใกล้เคียงและคล้ายคลึงกับเกมที่เล่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเรียกว่า ตะกร้อในไทย” “เซปัก-รากา ในมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย สีปาในฟิลิปปินส์ กะต้อในลาว ส่วนเกมอีกลักษณะที่แข่งขันกัน ซึ่งเล่นข้ามตาข่ายเรียกว่า เซปักตะกร้อ
ชินลงเป็นกีฬาที่เล่นเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่กีฬาที่เล่นเพื่อแข่งขันเอาชนะกัน เล่นคล้ายตะกร้อแต่เล่นเป็นวงกลม เล่นกันเป็นทีม ทีมหนึ่งมี 6 คน โดยจะมีผู้เล่นคนหนึ่งอยู่ตรงกลางของวง ซึ่งตำแหน่งนี้เรียกกันว่า มินดา แปลว่า เจ้าชาย ถ้าเป็นผู้หญิงจะเรียกว่า เจ้าหญิง เล่นท่าที่สวยงามเหมือนกับว่าเป็นการโชว์ลีลา เทคนิค ความสามารถของแต่ละทีม และเพื่อนร่วมทีมอีก 5 คน ที่ล้อมอยู่จะเป็นคนที่คอยช่วยคอยสนับสนุนผู้เล่นที่อยู่ตรงกลาง 
ถ้าผู้เล่นตรงกลางเหนื่อย สามารถเปลี่ยนตัวกับผู้เล่นคนอื่นที่อยู่รอบวงได้ โดยท่าของชินลงนั้นมีมากกว่า 200 ท่า แต่ที่เราเห็นในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์นั้น จะมีการใช้ท่าพื้นฐาน 6 ท่า อันประกอบด้วย หลังเท้า หน้าเท้า เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า และข้างเท้า เท่านั้น

6 ประโยชน์ ได้ทั้งกาย+ใจ
1. ชินลงนับเป็นกีฬาที่ประหยัด ลงทุนน้อยแต่เล่นได้หลายคน คุ้มค่าเงิน สามารถร่วมทุนกันคนละเล็กละน้อยหรือผลัดกันซื้อก็ได้ ทั้งลูกตะกร้อก็มีความทนทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารู้จักใช้และรู้จักเก็บรักษาให้ดี 
2. ชินลงเป็นพื้นฐานของการเล่นกีฬาประเภทอื่น เพราะทำให้ผู้เล่นรู้จักวิธีการครอบครองลูก รู้จังหวะเข้าออก จังหวะการเตะ โดยให้มีความสัมพันธ์ระหว่างมือ เท้า อวัยวะต่างๆ ได้เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน สร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดความแข็งแรงและความอดทนอีกด้วย
3. ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งผู้เล่นและผู้ชม การร่วมวงเล่นชินลงมักจะมีการส่งเสียงแสดงความดีใจพอใจตลอดเวลาในการเล่น หรือการเตะท่าพลิกแพลงต่างๆ ของผู้เข้าร่วมวงอยู่เสมอ จึงก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้เล่นด้วยกัน รู้จักหน้าที่รับผิดชอบและให้โอกาสแก่ผู้อื่น เกิดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีมีความเข้าอกเข้าใจ รู้นิสัยใจคอกันดีขึ้น ยอมรับผิดและให้อภัยกันเสมอ นับเป็นการช่วยส่งเสริมให้เข้าสังคมได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
4. สามารถเล่นได้ไม่จำกัดเวลา คือจะเล่นเวลาใดก็ได้ตามความประสงค์ของผู้เล่น ทั้งระยะเวลาในการเล่นก็ไม่กำหนดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความพอใจของผู้เล่น
5. กีฬาตะกร้อเล่นได้ไม่จำกัดสถานที่  อาจจะเป็นในร่มหรือกลางแจ้ง ทั้งสภาพของสนามก็ไม่เป็นอุปสรรคมากมายนัก ขนาดของสนามก็ยืดหยุ่นได้ไม่ตายตัวเหมือนกีฬาอื่นๆ
6. ชินลงเป็นกีฬาที่เหมาะสมกับบุคคลทุกเพศทุกวัย เพราะไม่หนักหรือเบาจนเกินไป สามารถปรับการเล่นตามความสามารถและกำลังของผู้เล่นได้ ทั้งในด้านทักษะก็มีหลายระดับชั้น ซึ่งดูเหมือนจะท้าทายและจูงใจผู้เล่นไม่รู้จบสิ้น ผู้เล่นสามารถพัฒนาทักษะไปตามวัย นอกจากนั้นอาจเล่นเพื่อความสวยงาม เพื่อการออกกำลังกาย เพื่อการแสดง หรือเพื่อการแข่งขันก็ได้ 
มิตรภาพ ในวงชินลง 

ชินลงเป็นกีฬาที่ไม่สามารถเล่นคนเดียว หรือโดดเดี่ยวได้ ฉะนั้นในการเล่นเป็นวงทำให้เกิดบรรยากาศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เริ่มต้นด้วยมิตรภาพ เมื่อพบกันในวงชินลงแล้วก็มักมีเรื่องพูดคุยกันต่อไป ใครทำอะไร เกี่ยวพัน และจะช่วยเหลือกันอย่างไร ซึ่งสิ่งที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาของวงลูกหวายนี้ ไม่ต่างจากเทศกาลโซชินลงที่มัณฑะเลย์ อันเป็นที่รู้จักกันในวงการนักเล่น และแฟนชินลงว่านี่คือเทศกาลรวมนักชินลงที่ใหญ่ที่สุดแห่งปีของพม่าซึ่งจะจัดขึ้นพร้อมงานบุญของวัดมหามุนีเป็นประจำทุกปี โดยสารัตถะของงานก็อยู่ที่การแลกเปลี่ยนทักษะ ประสบการณ์ และร่วมบุญเป็นพุทธบูชา